วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

ประเทศในอาเซียนและความรู้เกี่ยวกับบัญชี

ประเทศในอาเซียน
อินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย: Bahasa Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย: Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนและทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว (อินโดนีเซีย: Kalimantan) , ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินี (อินโดนีเซีย: Irian) และ ประเทศติมอร์ตะวันออกบนเกาะติมอร์ (อินโดนีเซีย: Timor)
ประวัติศาสตร์
อินโดนีเซียประกอบด้วยหมู่เกาะที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน แต่ต่อมาต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์อยู่ประมาณ 301 ปี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2.1 ญี่ปุ่นบุกอินโดนีเซีย และทำการขับไล่เนเธอร์แลนด์เจ้าอาณานิคมของอินโดนีเซียออกไปได้สำเร็จ จึงทำให้ผู้นำอินโดนีเซียคนสำคัญในสมัยนั้นให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่นแต่ไม่ได้ให้ความไว้วางใจกับญี่ปุ่นมากนัก เพราะมีเหตุเคลือบแคลงคือ เมื่อผู้รักชาติอินโดนีเซียจัดตั้งขบวนการต่างๆขึ้นมา ญี่ปุ่นจะขอเข้าร่วมควบคุมและดำเนินงานด้วย
เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามและประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายพันธมิตร อินโดนีเซียได้ถือโอกาสประกาศเอกราชใน พ.ศ. 2488 แต่เนเธอร์แลนด์เจ้าของอาณานิคมเดิมไม่ยอมรับการประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย จึงยกกองทัพเข้าปราบปราม ผลจากการสู้รบปรากฏว่าเนเธอร์แลนด์ไม่สามารถปราบปรามกองทัพอินโดนีเซียได้ จากนั้นอังกฤษซึ่งเป็นพันธมิตรกับเนเธอร์แลนด์จึงเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อให้ยุติความขัดแย้งกัน โดยให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในข้อตกลงลิงกัดยาติ (Linggadjati Agreement) เมื่อ พ.ศ. 2489 โดยเนเธอร์แลนด์ยอมรับอำนาจรัฐของรัฐบาลอินโดนีเซียในเกาะชวาและสุมาตรา ต่อมาภายหลังเนเธอร์แลนด์ได้ละเมิดข้อตกลงโดยได้นำทหารเข้าโจมตีอินโดนีเซียทำให้ประเทศอื่นๆ เช่น ออสเตรเลีย และอินเดียได้ยื่นเรื่องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเข้าจัดการ สหประชาชาติได้เข้าระงับข้อพิพาทโดยตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ออสเตรเลีย เบลเยียม และสหรัฐอเมริกา เพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอมและได้เรียกร้องให้หยุดยิง แต่เนเธอร์แลนด์ได้เข้าจับกุมผู้นำคนสำคัญของอินโดนีเซีย คือ ซูการ์โนและฮัตตาไปกักขัง ต่อมาทหารอินโดนีเซียสามารถช่วยเหลือนำตัวผู้นำทั้งสองออกมาได้ ในระยะนี้ทุกประเทศทั่วโลกต่างตำหนิการกระทำของเนเธอร์แลนด์อย่างยิ่งและคณะมนตรีความมั่นคงได้กดดันให้เนเธอร์แลนด์มอบเอกราชแก่อินโดนีเซีย
ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2492 อินโดนีเซียได้รับเอกราชแต่ความยุงยากยังคงมีอยู่เนื่องจากเนเธอร์แลนด์ไม่ยินยอมให้รวมดินแดนอิเรียนตะวันตกเข้ากับอินโดนีเซีย ทั้งสองฝ่ายจึงต่างเตรียมการจะสู้รบกันอีก ผลที่สุดเนเธอร์แลนด์ก็ยอมโอนอำนาจให้สหประชาชาติควบคุมดูแลอิเรียนตะวันตกและให้ชาวอิเรียนตะวันตกแสดงประชามติว่าจะรวมกับอินโดนีเซียหรือไม่ ผลการออกเสียงประชามติปรากฏว่าชาวอิเรียนตะวันตกส่วนใหญ่ต้องการรวมกับอินโดนีเซีย สหประชาชาติจึงโอนอิเรียนตะวันตกให้อยู่ในความปกครองของอินโดนีเซียเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2506
การเมืองการปกครอง
ประเทศอินโดนีเซียมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและทำหน้าที่ปกครองประเทศและดูแลประเทศและ
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2
ความรู้เกี่ยวกับบัญชี
ความหมายของการบัญชี
    การบัญชี (Acconting) คือศิลปะของการจดบันทึก จัดแยกประเภท สรุปผลการดำเนินงาน และฐานะทางการเงินของกิจการ

    ประโยชน์ของการบัญชี
      1.เจ้าของกิจการสามารถควบคุมดูแลรักษาสินทรัพย์มิให้สูญหาย
      2.เจ้าของกิจการสามารถนำข้อมูลมาบริหารจัดกรได้ดียิ่งขึ้น
      3.เจ้าของกิจการทราบผลกำไรและขาดทุน
      4.ป้องกันการทุจจิตได้

สินทรัพย์   ความหมายของสินทรัพย์ (Assets) คือ เงินหรือสิ่งของที่มีมูลค่าเป็นตัวเงิน ที่กิจการหรือบุคคลเป็นเจ้าของ อาจจะมีตัวตนหรือไม่มีตัวตนก็ได้
   สินทรัพย์ที่มีตัวตน ได้แก่ สินทรัพย์ที่มองเห็น สัมผัสได้ มีค่าเป็นตัวเงิน เช่น เงินสด บ้าน  ที่ดิน
   สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน ได้แก่ สินทรัพย์ที่มองไม่เห็น สัมผัสไม่ได้ มีค่าเป็นตัวเงิน เช่น ค่าความนิยม ลิขสิทธิ์ สัญญาเช่า

 สินทรัพย์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
    1.สินทรัพย์หมุนเวียน  (Current  Assets)  หมายถึง  สินทรัพย์ที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย  หรืออาจใช้ในการดำเนินงานให้หมดสิ้นภายใน 1 ปี  เช่น   เงินสด  เงินฝากธนาคาร  หรือสินทรัพย์อื่นที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว   เช่น ลูกหนี้การค้า
    2.สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Non-Current Assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้โดยเร็ว    มีอายุการใช้งานค่อนข้างยาวนาน  และกิจการมีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการดำเนินงาน  เช่น เงินลงทุนระยะยาว ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ รถยนต์
หนี้สิน  
    หนี้สิน (Liabilities) คือ จำนวนเงินที่บุคคลหรือกิจการเป็นหนี้บุคคลภายนอก โดยมีภาระผูกพันซึ่งจะต้องชำระในวันข้างหน้า

   ชนิดของหนี้สิน
     1.หนี้สินที่เกิดจากการซื้อสินทรัพย์อื่น ๆ เป็นเงินเชื่อ เรียกว่า เจ้าหนี้
     2.หนี้สินเกิดจากยืมเงิน เรียกว่าเจ้าหนี้เงินยืม (เงินกู้)
     3.หนี้สินเกิดจากการไม่ได้จ่ายค่าใช้จ่าย เรียกว่า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
     4.หนี้สิน ประเภท ตั๋วเงินจ่าย คือสักญญา ซึ่งกิจการค้ารับรองว่าจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่เจ้าหนี้ ตามกำหนดไว้ในอนาคต

        ตัวอย่างบัญชีหนี้สิน
            บัญชีเจ้าหนี้-ร้าน/นาย........
            บัญชีเงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร
            บัญชีตัวเงินจ่าย
            บัญชีค่า......ค้างจ่าย
            บัญชีรายได้.............ค้างรับ

   หนี้สินสามารถแบ่งออกเป็น  3 ประเภท ได้แก่
     1.หนี้สินหมุนเวียน  (Current  Liabilities)  หมายถึง  ภาระผูกพันที่กิจการต้องชำระคืนภายในระยะเวลาไม่เกิน  1 ปี  เช่น  เจ้าหนี้การค้า  เงินเบิกเกินบัญชี  ตั๋วเงินจ่าย
     2. หนี้สินระยะยาว (Long-term Liabilities) หมายถึง หนี้สินซึ่งมีระยะเวลาการชำระคืนเกินกว่า 1 ปี เช่น เงินกู้ระยะยาว หุ้นกู้
     3. หนี้สินอื่น (Other  Liabilities)  หมายถึง  หนี้สินซึ่งไม่อาจจัดเป็นหนี้สินหมุนเวียนและหนี้สินระยะยาว  เช่น  เงินสะสมหรือเงินบำนาญของลูกจ้างพนักงาน  รายได้รอการตัดบัญชี

http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/sak_op/banchee/sec01p03.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น